8 สิ่งที่ SMEs ต้องทำ..เพื่อปรับตัวและไปต่อในปี 2021

Last updated: 5 ต.ค. 2567  |  1818 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปีนี้เชื่อว่าจะเป็นปีที่ยากไม่น้อยสำหรับผู้ประกอบการ SME เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบขยายวงกว้างต่อเศรษฐกิจ–ความเชื่อมั่นภายในประเทศ ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกก็ยังไม่ดีขึ้น ส่วนวัคซีนยังต้องรอพิสูจน์ประสิทธิภาพกันต่อไป ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยธุรกิจต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ด้วยสถานการณ์เช่นนี้เอสเอ็มอีควรปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ไปรอด ผ่านอุปสรรคนานัปการไปได้

 

1.สำรองเงินสด

เงินสดนั้นเหมือนดั่ง “เชื้อเพลิง” สำหรับธุรกิจคุณจำเป็นต้องมีเงินสดเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ แต่คำถามคือคุณควรมีเงินสดไว้เท่าไหร่ โดยทั่วไปแล้วควรสำรองเงินไว้เท่ากับสามถึงหกเดือนของ “ค่าใช้จ่าย” แนวคิดก็คือเงินเหล่านี้ควรจะเพียงพอที่จะใช้เพื่อปฏิบัติตามภาระผูกพัน แม้ในเดือนที่ธุรกิจไม่มีเงินสดไหลเข้ามาก็ตาม

ดังนั้น หากคุณมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 500,000 บาท ให้ตั้งเป้าหมายสำรองเงินสดระหว่าง 1,500,000 บาท ถึง 3,000,000 บาท

 

2. ช้อปจบใน Social Media

เพราะ Social Media ไม่ได้เป็นสังคมออนไลน์ที่เอาไว้แชร์ข้อมูลข่าวสาร ลงรูปภาพสวยเก๋เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่กำลังกลายเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่ผู้บริโภคสามารถดูสินค้า เลือกช้อป จ่ายเงินได้แบบครบในที่เดียว ก่อนหน้านี้การช้อปปิ้งบนโซเชียลอาจจะเพิ่งเริ่มต้นขึ้น โดยลูกค้ายังต้องออกจากโซเชียลเพื่อไปทำการโอนเงินให้คนขายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ แต่ต่อไปจะไม่ต้องทำแบบนั้นอีกแล้ว เพราะลูกค้าสามารถทำการโอนเงินได้จบภายในโซเชียลเลย เรียกได้ว่าสะดวกและประหยัดเวลาสุดๆ สำหรับ Social Media ที่เริ่มมีการเปิดให้ลูกค้าช้อปจบในที่เดียวก็มีทั้ง Facebook, Instagram, Pinterest และ Snapchat นี่เป็นอีกหนึ่งการตลาดออนไลน์ที่คนทำธุรกิจเอสเอ็มอีควรจะต้องเน้นให้มากขึ้น

 

 

3. พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อนคู่คิดเอสเอ็มอี

ในโลกยุคปัจจุบัน มนุษย์ต้องการได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว ธุรกิจจึงมีความจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หนึ่งในวิธีการที่จะให้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง คือการร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดย 4 ข้อดีที่จะได้จากพันธมิตรมีดังนี้คือ

- ด้านองค์กร : ช่วยเสริมความเชี่ยวชาญของบุคคลากรในองค์กร ให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น

- ด้านเศรษฐกิจ : ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจ

- ด้านกลยุทธ์ : จะช่วยเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ

- ด้านความสัมพันธ์ :  ช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้า

 

 

4. ลดต้นทุน–ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

เพราะการลดต้นคือการเพิ่มผลกำไร โดยไม่กระทบถึงผู้บริโภคภายนอก เป็นกระบวนการที่จัดการกันเองภายในองค์กร โดยอาศัยความร่ามมือจากบุคลากรฝ่ายและทุกคนในองค์ตั้งแต่บนสุดจนถึงล่างสุด การลดต้นทุนมิใช่การลดวัสดุอุปกรณ์ กำลังการผลิต หรือบุคลากร แต่เป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่นั้นให้คุ้มค่าที่สุด

 

 

5. ปรับโมเดลธุรกิจจาก Fix เป็น Flexible ให้มากขึ้น

จากเดิมที่เคยยึดมั่นกับการสร้างรายได้ทางเดียว ช่องทางเดียว ก็จำเป็นต้องมองหา Business Model ใหม่ที่ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากทางอื่นและช่องทางอื่นๆ ได้มากขึ้น เพื่อให้หากเกิดวิกฤติคล้ายเดิม หรือวิกฤตใหม่ขึ้นมาอีก ธุรกิจเราจะได้รับมือได้ดีขึ้น เนื่องจากธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และไม่ได้พึ่งพารายได้จากทางใดทางเดิมเพียงทางเดียว

 

 

6. ปรับปรุงระบบจัดเก็บ DATA เพื่อพัฒนากลยุทธ์ขายสินค้า

หลายคนคงทราบดีว่ายุคนี้ เป็นยุคแห่งข้อมูล เพราะการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เรียกได้ว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนไม่มากก็น้อย ช่องทางออนไลน์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บบันทึกพฤติกรรมของผู้ซื้อ ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ความสนใจ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ล้วนถูกบันทึกไว้ไม่ว่าจะอยู่ในช่องทางไหน ข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ให้ธุรกิจในการนำไปต่อยอดเพื่อทำการตลาดออนไลน์ทั้งสิ้น เพราะหากเราสามารถเข้าใจและรับรู้ตัวตนของกลุ่มเป้าหมาย นั่นหมายความว่าเราสามารถนำเสนอสิ่งที่ตรงใจ ก็มีโอกาสสร้างฐานลูกค้าประจำในอนาคตได้ สำหรับธุรกิจในทุกวันนี้ที่ต่างมีช่องทางของตัวเองอยู่บนโลกออนไลน์ การมีข้อมูลของลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

 

7. สามารถทำงานได้ในทุกสถานที่

หลายธุรกิจทำงานภายใต้ระบบแสกนนิ้วตอกบัตรมาตลอด พอถึงคราวปรับตัวที่ต้องทำงานแบบ Work From Home แม้ดูเหมือนจะไม่มีอะไรมากก็แค่เปลี่ยนสถานที่ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพออกมาได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่คุ้นเคยกับการทำงานรูปแบบใหม่มากพอ ดังนั้นในแง่ของการทำงานต่อจากนี้ไป ทุกธุรกิจจะต้องสร้างแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่นและหลากหลายมากขึ้น ให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่ทำงานได้ทุกสถานที่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบไม่ Fix สถานที่นี้ ก็สามารถต่อยอดไปถึงการวางโครงสร้างการประเมินพนักงานรูปแบบใหม่ การจัดการต้นทุนสถานที่การทำงานใหม่ ที่ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนลดลง ทำกำไรได้มากขึ้นได้อีกด้วย

 

 

8. เปลี่ยนคนแปลกหน้า ให้เป็นลูกค้าด้วยการตลาด

ในการดำเนินงานการตลาดสมัยใหม่เพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้น นอกจากการผลิตสินค้าเหมาะสมตรงกับความต้องการของตลาด การกำหนดราคาที่จูงใจ รวมทั้งการจัดระบบการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าเป้าหมายที่ดีแล้วก็ตาม นับว่ายังไม่เพียงพอ ธุรกิจเอสเอ็มอีจำเป็นจะต้องอาศัยความสำเร็จในการติดต่อสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้องต่างๆ อีกด้วย การติดต่อสื่อสารจึงเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้รับข่าวสาร ให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตามได้

 

          ด้วยเหตุนี้เอสเอ็มอีจำเป็นต้องสื่อสารกับลูกค้าเพื่อให้เกิดการยอมรับ และตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการที่เสนอขาย ซึ่งอาจจะเป็นการโฆษณารูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ในเวลาอันรวดเร็ว และขยายเป็นวงกว้าง, การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์เสริมเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์ หรือสินค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นต้น 

Powered by MakeWebEasy.com